ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  

พระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนา

โครงการฝนหลวง
         "เงยหน้าดูท้องฟ้ามีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องทาฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทาได้ มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือ ทาได้..." พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการพระราชดาริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่ห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาการขาดแคลนน้าเพื่ออุปโภค บริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปร และความคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาตินับตั้งแต่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้รับสนองพระราชดาริไปดาเนินการศึกษาค้นคว้าทดลองโปรยสารเคมีด้วยเครื่องบินเป็นครั้งแรก ณ วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อ 2 กรกฎาคม 2512 จากนั้นเป็นต้นมา ก็มีการขยายผลการปฏิบัติไปช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ เป็นประจาทุกปี จนรัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกา ก่อตั้งสานักงานปฏิบัติการฝนหลวง ในสังกัดสานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2518 พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับฝนหลวง เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่วางแผนสาธิตการทาฝนหลวงลงอ่างเก็บน้าเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ให้ผู้แทนจากประเทศสิงคโปร์ชมวางแผนปฏิบัติการด้วยพระองค์เอง สามารถทาให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายอ่างเก็บน้าได้อย่างแม่นยาภายในเวลาที่กำหนด ภารกิจของสานักงานปฏิบัติการฝนหลวงมีเพิ่มมากขึ้นตามลาดับ และเพื่อให้การปฏิบัติงานมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้รวมสานักงานปฏิบัติการฝนหลวงกับกองบินเกษตรเข้าเป็นหน่วยงานเดียว ชื่อว่า "สานักฝนหลวงและการบินเกษตร" กองทัพอากาศได้เข้ามารับสนองพระราชดาริในโครงการฝนหลวงอย่างจริงจัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 เนื่องจากในปีนั้นได้เกิดภาวะฝนแล้งผิดปกติในฤดูเพาะปลูก และเกิดขาดแคลนน้าอย่างหนัก กองทัพอากาศจึงได้จัดเครื่องบินพร้อมเจ้าหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร้องขอ จนถึง พ.ศ. 2537 ผู้บัญชาการทหารอากาศ ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับจากโครงการฝนหลวงในพระราชดาริ จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงกองทัพอากาศขึ้น เพื่อวางแผน อานวยการ ควบคุม กำกับการและประสานการปฏิบัติร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
         ในการปฏิบัติการฝนหลวงของกองทัพอากาศ มิใช่เพียงการใช้เครื่องบินและกาลังพลเข้าปฏิบัติการเท่านั้น หากแต่ยังได้จัดทำ
         - โครงการวิจัยและพัฒนากระสุนสารเคมีซิลเวร์ไอโอไดด์ ที่ใช้กับเครื่องบินที่ปฏิบัติการทาฝนหลวงในเมฆเย็น
         - โครงการวิจัยควบคุมดินฟ้าอากาศ แนววิจัยโครงการนี้คือ การนาสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า ทาให้เมฆรวมตัวและก่อให้เกิดฝนตกได้ ถึงแม้ว่าในขณะนั้นท้องฟ้าจะไม่มีเมฆเลยก็ตาม ซึ่งกองทัพอากาศสามารถผลิตจรวดที่นาสารเคมีบรรจุในหัวจรวด แล้วยิงขึ้นฟ้าที่ระดับความสูง 1 - 1.5 กม. ในช่วงฤดูแล้งของ พ.ศ. 2530 ได้เกิดภาวะขาดแคลนน้าอุปโภคบริโภคอย่างรุนแรงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาวะดังกล่าวได้สร้างความเดือดร้อนทุกข์ยากให้ประชาชนอย่างหนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานกระแสพระราชดารัสแก่ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2530 ให้หาลู่ทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็วด้วย อันนาไปสู่โครงการน้าพระทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียวในปีเดียวกันนี้เอง กองทัพเรือก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมปฏิบัติงานในโครงการปฏิบัติฝนหลวงพิเศษตามพระราชดาริ ภายใต้โครงการน้าพระทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียว และในทุกปีที่ผ่านมา ในส่วนของกองเรือยุทธการ จะทาพิธีส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษกองทัพเรือ ประมาณต้นเดือนมีนาคม ณ กองการบินทหารเรือ จะมีโอกาสอวดธงราชนาวีเหนือน่านฟ้าของไทย ในภารกิจบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน บัดนี้ โครงการฝนหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดาริไว้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลแก่อาณาประชาราษฎร์ ช่วยให้พื้นที่ที่เคยแห้งแล้งกลับมีความชุ่มชื่น ก่อให้เกิดความชุ่มฉ่าแก่แผ่นดิน แม้แต่น้าในเขื่อนต่างๆ ที่ใกล้จะหมดก็มีปริมาณมากขึ้น ทั้งนี้ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาญาณ ในพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช อย่างแท้จริง

         เมื่อปี พ.. 2551 – 2552 สภาพอากาศโดยทั่วไปทำให้ประชาชนคนไทยได้ตื่นเต้นจากที่เคยเป็นอยู่ ในปีที่ผ่านๆ มา ฤดูหนาวในปีนี้ พฤศจิกายน – มกราคม ความหนาวเย็นได้มาเยือนยาวมากกว่าปกติ หลายท่านต้องรีบจัดหาเครื่องทำความอบอุ่นเพิ่มเติม ความหนาวเย็นได้ล่วงยาวมาถึง กุมภาพันธ์ ก็เป็นสิ่งซึ่งทุกคนชื่นชอบแต่บนความชื่นชอบนั้นมีสิ่งที่ตามมา คือ ฤดูแล้ง ที่จะมาเยือนในเร็ววันนี้ ทำให้นึกถึงประชาชนชาวไทยซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศที่มีอาชีพทางการเกษตร และอาศัยน้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ปัจจุบันมีการผลิตกันตลอดทั้งปี ฤดูแล้งนี้จะมีน้ำเพียงพอหรือไม่ ยิ่งเมื่อได้เห็นภาพข่าวในหนังสือพิมพ์ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุขพระราชวังไกลกังวล โดยมีนายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และการเกษตรกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายรอยล จิตรดอน กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ กราบบังคมทูลถวายงานสรุปสถานการณ์ประเทศไทยปี 2551 และรับพระราชทานพระราชดำริเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของสถาบันฯ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงมีพระราชดำริโครงการฝนหลวง และพระราชทานตำราฝนหลวง แด่พสกนิกรของพระองค์ได้มีน้ำใช้อุปโภคบริโภค และประกอบอาชีพเกษตรกรรมในการดำรงวิถีชีวิตได้สมบูรณ์
         ความเป็นมา
         ในปี พ..2498 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน เพื่อทรงเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นแผ่นดินภาคอีสานแตกระแหงเป็นผุยผง ฤดูกาลแล้วฤดูกาลเล่าที่ผ่านไป เมื่อเวลาฝนตกหนักก็ทำให้น้ำท่วมเสียหาย ครั้นหน้าแล้งก็ปราศจากฝนที่จะตกลงสู่พื้นดิน ความทุกข์ของราษฎร์ที่ขาดแคลนน้ำดื่มกิน และใช้ในการเกษตรที่ฝนขาดทิ้งช่วงไป บางครั้งบางปี ฤดูฝนก็มาล่ากว่าปกติ หรือไม่ก็หมดเร็วผิดปกติ จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภูมิภาคอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติจนถึงทุกวันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบเห็นความผันแปรของธรรมชาติ อันวิปริตตามเส้นทางที่เสด็จพระราชดำเนินทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยาน ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถรวมตัวกันจนก่อกำเนิดเป็นฝนได้ พระองค์ทรงคิดคำนึงว่า จะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์วิธีใดวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่าด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยนี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทยจะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนตกได้อย่างแน่นอน พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่จึงบังเกิดโครงการ “ฝนหลวง” ที่ก่อร่างเป็นเค้าโครงการ ตามที่พระองค์ทรงเล่าไว้ในRainmaking story ว่าเราได้หยุดอย่างเป็นทางการที่ทางแยกกุฉินารายณ์ และสหัสขันธ์ ณ ที่นั่น ข้าพเจ้าได้สอบถามราษฎรเกี่ยวกับผลผลิตข้าว ข้าพเจ้าคิดว่าความแห้งแล้งต้องทำลายผลผลิตของพวกเขา แต่ข้าพเจ้าต้องประหลาดใจราษฎรเหล่านั้นกลับรายงานว่า พวกเขาเดือนร้อนเพราะน้ำท่วม สำหรับข้าพเจ้าเป็นการแปลก เพราะพื้นที่แถบนั้นมองดูคล้ายทะเลทราย มีผงดินฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไป แท้จริงแล้วพวกเขามีทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง นั่นคือ ทำไมประชาชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงยากจน
         แนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาความผันแปรไม่แน่นอนของฝนธรรมชาติในเวลานั้นที่จะจัดการทรัพยากรน้ำใน 2 วิธี คือ
         1. การสร้างเขื่อน (Check – dam) ชะลอการไหลบ่าของน้ำไม่ให้ท่วมและเก็บกักไว้ใช้ในฤดูแล้ง
         2. หาวิธีทำฝนเทียม (Rainmaking) บังคับเมฆให้ตกเป็นฝนในพื้นที่ต้องการนับจากนั้นเป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสารทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยาและการดัดแปรสภาพอากาศ ทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญ จากเอกสารที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัยจึงพระราชทานแนวคิดแด่ ม...เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น และพร้อมกันนั้นพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้ ดังพระราชดำรัสว่า“.........แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี้ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็ปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือ ทำได้..........”ต่อมาไม่นาน จึงเกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียม หรือฝนหลวงในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเมื่อปี 2512 ด้วยความสำเร็จในโครงการอันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่ต้องการให้ราษฎรพ้นจากความแห้งแล้ง จึงก่อเกิดตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักปฏิบัติการฝนหลวงในปี พ.. 2518 สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้ประชาชนมีน้ำกินน้ำใช้เพื่อยังชีพ และใช้ในการเกษตร

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับขั้นตอนการทำฝนหลวง
         การทำฝนหลวงเป็นกรรมวิธีเหนี่ยวนำน้ำจากท้องฟ้า โดยปฏิบัติการจะต้องให้เครื่องบินที่มีอัตราบรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมี ขึ้นไปโปรยปรายบนท้องฟ้า โดยวิธีการคือ ต้องดูจากความชื้นของจำนวนเมฆและสภาพของทิศทางลมประกอบกันปัจจัยสำคัญประการแรกนั้นที่ทำให้เกิดฝน คือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศทางเบื้องบนแล้วอุณหภูมิของมวลอากาศที่บนท้องฟ้าจะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากแม้นอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอจะเกิดการทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว เมื่อกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว ก่อกำเนิดเกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย “สูตรร้อน” เพื่อใช้กระตุ้นเร่งเร้ากลไกหมุนเวียนของบรรยากาศ “สูตรเย็น” ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดขั้นตอนกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้อย่างง่ายๆ ตามลำดับขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
         ขั้นตอนที่หนึ่ง : ก่อกวน คือ การที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวงในขั้นตอนนี้จะมุ่งใช้สารเคมีกระตุ้น ปรากฏให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักไอน้ำ หรือการชักนำความชื้นให้เข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ ในแต่ละวัน โดยการใช้สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศได้ถึงแม้ว่าจะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ที่ต่ำ (มีค่า Critical realative humidity ต่ำ) ทั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้กลไกกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวลอากาศ (คือ เป็นการสร้าง Surrounding เพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเมฆ) ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมายที่ต้องการให้ฝนโปรยปราย เมื่อเมฆเริ่มเกิดการก่อตัวเริ่มขึ้น และการเจริญเติบโตเป็นไปในทางตั้ง แล้วจึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (maincloud core) ในบริเวณปฏิบัติสำหรับใช้เป็นศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
         ขั้นตอนที่สอง : เลี้ยงให้อ้วน เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตเป็นระยะที่สำคัญมากในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะขั้นตอนนี้เป็นการไปเพิ่มพลังให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์ หรือศิลปะแห่งการทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อกำหนดการตัดสินใจโปรยสารเคมี ฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใด ของกลุ่มก้อนเมฆ และต้องโปรยในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะกระบวนการนี้ต้องให้ละอองเมฆเกิดสมดุลกับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลายได้
         ขั้นตอนที่สาม : โจมตี เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆหรือกลุ่มเมฆฝนในขั้นนี้ มีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะต้องมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมายหากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ เครื่องบินจะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญ และฝีมืออาศัยประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป การปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ผู้ปฏิบัติต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง 2 ประเด็น คือ การเพิ่มปริมาณฝนตก และให้ฝนเกิดการตกกระจายไป

         พระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกลยุทธ์ในการพัฒนา “ฝนหลวง”
         เมื่อวันที่ 1 – 2 กรกฎาคม 2512 ได้เริ่มการทดลองทำฝนหลวง การปฏิบัติการในครั้งแรกนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม...เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก และได้เลือกพื้นที่ วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลอง โดยเริ่มจากการหยอดก้อนน้ำแข้งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้วเข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายเคว้งคว้างอยู่เหนือพื้นที่ทดลอง ทำให้กลุ่มเมฆเหล่านั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็ว แล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลมพ้นไปจากสายตาไม่สามารถสังเกตได้เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโครงการสำรวจทางภาคพื้นดินในครั้งนั้น ได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากบรรดาราษฎรว่าเกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่จริง ครั้งแรกของการปฏิบัติฝนหลวงจึงนับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ กลยุทธ์ในการพัฒนา “ฝนหลวง” ด้วยพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยภาพที่สั่งสมจากการทดลองศึกษา วิจัยอย่างเป็นระบบ จนสามารถกำหนดเป็นพระราโชบายสำคัญ 3 ประการ คือ

         1. ทรงเน้นให้มีการพัฒนาวิธีการทำฝนหลวงไปในแนวทาง และรูปแบบที่เป็นวิทยาศาสตร์
         2. ทรงย้ำถึงบทบาท และความสำคัญของการทำฝนหลวง ในลักษณะที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
         3. ทรงเน้นว่า สิ่งสำคัญทำให้เกิดการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้ คือ การร่วมมือและประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพระองค์ได้ทรงแนะนำให้ศึกษาข้อมูล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางภาคพื้นดินให้มากดังเช่น แผนภูมิความชื้นสัมพัทธ์ทางภาคพื้นดินในอากาศบริเวณนั้นๆ คณะปฏิบัติการทดลองได้น้อมรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม และได้น้อมนำรับนำมาปฏิบัติสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ซึ่งพอสรุปรวมความได้ดังนี้
                  1. การวิจัย และค้นคว้าทดลองเป็นสิ่งสำคัญต้องดำเนินต่อเนื่องไปไม่มีที่สิ้นสุด
                  2. อย่าสนใจต่อข้อวิจารณ์ที่ก่อให้เกิดความท้อแท้ใจ ให้มุ่งมั่นพัฒนาต่อไป
                  3. ให้บันทึกรวบรวมผลการปฏิบัติไว้เป็นตำรา

         สำนักปฏิบัติการฝนหลวงมิได้หยุดยั้งในการค้นหาลู่ทางดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝน จากเมฆเย็นในปี พ.ศ. 2531 ได้ทำการศึกษาวิจัย และทดลองการยิงสารเคมีจากเครื่องบินระดับความสูง 35,000 ฟุต เข้าไปกระตุ้นกลไกการเปลี่ยนแปลงสถานะของเหลว (เย็นจัด) ของหยดน้ำ (cloud droplets) ให้เป็นผลึกน้ำแข็ง (icecrystals) ร่วงหล่นลงมาละลายสมทบกับหยดน้ำในเมฆอุ่นเกิดเป็นฝนตกปริมาณหนาแน่นยิ่งขึ้น ประกอบกับในปี 2539 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เพื่อเฉลิมฉลองในวาระอันเป็นมงคลยิ่ง จึงได้ตั้งศูนย์วิจัยปฏิบัติการฝนหลวงเฉลิมพระเกียรติขึ้น เพื่อดำเนินการวิจัยการทำฝนหลวงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ และให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น การดำเนินการวิจัยจะประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของประเทศไทยเกือบทั้งสิ้น สมตามพระราโชบายที่ทรงพระราชทานไว้ และในการนี้ พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์ภาพ “ตำราฝนหลวง” ด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงขั้นตอน และกรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนจากเมฆอุ่น และเมฆเย็นพระราชทานแก่นักวิชาการฝนหลวงถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 254

         ผลการดำเนินโครงการ “ฝนหลวง”
         เมื่อประสบผลสำเร็จในการทดลองศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการและกรรมวิธีฝนหลวงจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว ความต้องการฝนหลวงเพื่อช่วยพื้นที่เกษตรกรรม และการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคได้รับการร้องเรียนขอความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น อย่างช่วงระหว่าง พ.ศ. 2520 - 2534 มีการร้องเรียนขอฝนหลวงแล้วถึงปีละ 44 จังหวัด ซื่งทรงพระเมตตาอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกษตรกรไทย ในการบรรเทาการสูญเสียทางเศรษฐกิจให้ประสบความเสียหายน้อยที่สุด นอกจากนี้ประโยชน์สำคัญที่ควบคู่ไปกับการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเกษตรกรรมและการอุปโภคบริโภค คือ เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่อ่างและเขื่อนเก็บกักน้ำ เพื่อชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งน้ำและต้นน้ำลำธารธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงป่าไม้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ความชุ่มชื้นที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากฝนหลวงจะช่วยลดการเกิดไฟป่าได้อย่างมาก พร้อมทั้งบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเราหลายประการ เช่น ช่วยแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำลำคลอง นับตั้งแต่ได้เริ่มปฏิบัติการฝนหลวงจนถึงวันนี้ สังคมเกษตรกรชาวไทยที่อาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นวิถีหลัก ได้พัฒนาสู่การเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และพอเพียงเพื่อเลี้ยงตัวให้อยู่ในสังคมได้ด้วยการพึ่งพาตนเองจากความทุกข์ของราษฎร์ที่เปลี่ยนมาเป็นทุกข์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่รับเป็นราชภาระในความทุกข์ของอาณาประชาราษฎร์ ที่วันนี้ค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นความสุขที่ได้ทรงช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้ ฝนหลวงจึงนับว่าเป็นที่พึ่งของเกษตรกรยามเกิดภัยแล้งได้อย่างแท้จริง และได้ก้าวเข้ามามีส่วนช่วยเหลือประเทศชาตินานาประการจนมิอาจกล่าวได้หมด วันนี้สภาพความแห้งแล้งอันเป็นภัยพิบัติธรรมชาติ ได้กลับพลิกฟื้นคืนสู่สภาพที่สดชื้นอีกครั้งหนึ่งบนผืนแผ่นดินไทย โดยพระราชดำริ “ฝนหลวง” อันเกิดจากน้ำพระราชหฤหัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา และพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงสอดส่องดูแลทุกข์สุขและห่วงใยทุกชีวิตโดยแท้
         ประโยชน์ของการทำฝนหลวง
         1.
เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ ให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง
         2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำโดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้
         3. เพื่อป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม “ฝนหลวง” ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบายน้ำเสียและขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำเจ้า ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง
         4. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ฝนหลวงในอนาคตพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิดให้ทำการศึกษาวิจัยพัมนาฝนหลวงหลายประการ คือ สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีมีแรงอัดกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา
         ฝนหลวงกับรางวัลเชิดชูเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
         กิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศได้ถูกบรรจุในระเบียบวาระการประชุมประจำปีของ คณะอนุกรรมการอาเซียน ว่าด้วยอุตุนิยมวิทยา และธรณีฟิสิกส์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการทำฝนเทียม ประเทศไทยได้รับการยอมรับในความเป็นผู้นำ เป็นศูนย์กลางกิจกรรมการดัดแปรสภาพอากาศแห่งอาเซียน (ASEAN Weather Modification Center) และให้จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำฝนเมฆอุ่นด้วยสารเคมีดูดความชื้น โดยผู้แทนองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมดังกล่าวในปี พ.. 2545 การทำฝนหลวงของไทยได้รับเกียรติจาก WMO ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ ว่าด้วยการดัดแปรสภาพอากาศ ครั้งที่ 7 ของ WMO เมื่อวันที่ 17 – 22 กุมภาพันธ์ 2542 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จแทนพระองค์ในพิธีเปิดการประชุม และประเทศไทยได้นำเสนอผลงานโครงการฝนหลวงต่อที่ประชุม ซึ่งโครงการดังกล่าวยืนยันประสิทธิภาพในการทำงานฝนหลวง ทั้งจากเมฆเย็นและเมฆอุ่น จนได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ โดยยกให้เป็น 1 ใน 2 โครงการของโลกที่มีความน่าสนใจที่สุดในปี 2544 ประธานจัดงานประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางเทคโนโลยี “Brussels Eureka 2001” ได้มีหนังสือขอพระบรมราชานุญาต นำผลงานโครงการพระราชดำริไปร่วมแสดงนิทรรศการที่กรุงบรัสเซลประเทศเบลเยียม ระหว่างวันที่ 13 – 22 พฤศจิกายน 2544 ในการนี้ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร นำเทคโนโลยีฝนหลวงไปจัดแสดง ผลปรากฏว่าโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” (The King’s Initiative Project: Royal Rainmaking) ได้รับรางวัลเหรียญทองเชิดชูเกียรติ และหนังสือประกาศเกียรติคุณ ในฐานะเป็นโครงการดีเด่นด้านสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

วันบิดาแห่งฝนหลวง
         วันบิดาแห่งฝนหลวง ทุกวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี
         ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง
         ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง “…แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้…” วันบิดาแห่งฝนหลวง (14 พฤศจิกายน)


แหล่งที่มา
      อนงค์ณัฐ(นามแฝง). (2557). โครงการฝนหลวง. ค้นเมื่อวัน 4 ม.ค. 60
จาก http://yingnak.blogspot.com/