บทบาทและหน้าที่



2. งานหอสมุดและสารสนเทศ มีงานที่ต้องดูแลและปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
 2.1 การจัดการสารสนเทศ
2.1.1  จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท
2.1.2  ดำเนินการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
   2.1.2.1 ตรวจสอบรายการหนังสือในระบบ Liberty เพื่อไม่เกิดการจัดซื้อซ้ำ
2.1.3  ลงทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศ
   2.1.3.1 ลงทะเบียน และ Link ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ลงในระบบ Liberty
   2.1.3.2 พิมพ์สัน / บาร์โค้ดและติดหนังสือ
   2.1.3.3 ประทับตราและติดใบกำหนดส่งที่หนังสือ
   2.1.3.4 ลงรายละเอียดในตัวเล่มหนังสือ
   2.1.3.5 ตรวจสอบรายการหนังสือใหม่ก่อนนำออกบริการ
   2.1.3.6 Scan ปก และจัดทำบรรณนิทัศน์สำหรับหนังสือใหม่
   2.1.3.7 บริการแนะนำหนังสือใหม่
   2.1.3.8 บริการหนังสือเร่งด่วน
2.1.4  วิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการ MARC ของหนังสือ วารสาร และวิทยานิพนธ์ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
2.1.5  จัดทำข้อมูลวิทยานิพนธ์ลงฐานข้อมูลของ สกอ. (ThaiLIS)
   2.1.5.1 ตรวจสอบความถูกต้องตัวเล่มวิทยานิพนธ์
   2.1.5.2 Upload และ Link ข้อมูลวิทยานิพนธ์ลงในระบบ Liberty
2.1.6  ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบที่หลากหลาย
   2.1.6.1 บริการสื่อสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
   2.1.6.2 บริการสื่อโสตทัศน์ (ลงทะเบียน ป้อนข้อมูล และตรวจสอบแก้ไขสื่อโสตทัศน์ในระบบฐานข้อมูล)
   2.1.6.3 บริการห้องปฏิบัติการอินเตอร์เน็ต
   2.1.6.4 บริการคอมพิวเตอร์
2.1.7  ให้บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ
   2.1.7.1 จัดทำทะเบียนสมาชิกผู้ใช้บริการหอสมุดโดยจัดหาข้อมูลนักศึกษาใหม่ และคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าระบบ Liberty
   2.1.7.2 ทำบัตรสมาชิกแบบชั่วคราวสำหรับนักศึกษาใหม่ที่ยังไม่ได้บัตรประจำตัวนักศึกษา
   2.1.7.3 บริการจองหนังสือ
   2.1.7.4 ดูแลตรวจสอบ และทวงทรัพยากรสารสนเทศค้างส่งทั้งนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย
   2.1.7.5 ดูแลตรวจสอบ และจัดทำค่าปรับหนังสือเกินกำหนดและสูญหายของนักศึกษาส่งมหาวิทยาลัย
   2.1.7.6 บริการสืบค้นข้อมูลทางการศึกษาและงานวิจัยต่างๆ แก่คณาจารย์ นักศึกษาบุคลากรและชุมชน
   2.1.7.7 ให้คำแนะนำ ปรึกษา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ
2.1.8  ให้บริการรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศใหม่
2.1.9  ควบคุม ดูแล และซ่อมบำรุงทรัพยากรสารสนเทศ
   2.1.9.1 ซ่อมหนังสือ ทั้งแบบซ่อมย่อยและซ่อมใหญ่โดยมีกระบวนการทำเป็นขั้นตอน
   2.1.9.2 เย็บเล่มวารสาร นำวารสารมารวมเล่มโดยมีกระบวนการทำเป็นขั้นตอน
2.1.10  จัดทำดรรชนีวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
   2.1.10.1 ร่างดรรชนีวารสาร
   2.1.10.2 วิเคราะห์และและทำรายการดรรชนีวารสาร
   2.1.10.3 พิมพ์ฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร
2.1.11  จัดระเบียบชั้นหนังสือและสำรวจสภาพของทรัพยากรสารสนเทศ
   2.1.11.1 จัดเก็บหนังสือและวารสารตามโต๊ะอ่านและหนังสือที่มาคืน
   2.1.11.2 หนังสือจะถูกคัดแยกตามหมวดหมู่และจัดเรียงขึ้นชั้นตามเลขเรียกหนังสือ
   2.1.11.3 วารสารจะถูกคัดแยกตามรายชื่อวารสารและจัดเรียงขึ้นชั้นวารสาร
   2.1.11.4 คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเพื่อนำออกมาซ่อมหรือจำหน่ายออก
2.1.12  รวบรวมสถิติผู้ใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ
2.1.13  จัดทำและประเมินผลโครงการงานบริการวิชาการแก่ชุมชน และโครงการอื่นๆ ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1.14  จัดทำรายงานการประเมินตนเองเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของงานหอสมุดและสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1.15  รวบรวมสถิติการปฏิบัติงานของตนเองเป็นรายเดือน
 2.2 งานส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
2.2.1  กำหนดแผนและดำเนินการจัดการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
   2.2.1.1 ขอตารางเรียนนักศึกษาปีที่ 1 เพื่อจัดทำตารางการอบรมทักษะการรู้สารสนเทศ
   2.2.1.2 ติดต่อวันอบรมกับตัวแทนห้องของนักศึกษา
   2.2.1.3 จัดทำเอกสารการอบรม เช่น คู่มือ แบบประเมินความพึงพอใจ
   2.2.1.4 เจ้าหน้าที่หอสมุดและบรรณารักษ์ร่วมกันให้ความรู้ ทักษะการรู้สารสนเทศกับนักศึกษาปีที่ 1
2.2.2  ควบคุม และดูแลห้องบริการสารสนเทศ
2.2.3  สำรวจความต้องการและความพึงพอใจในการใช้บริการสารสนเทศ ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
   2.2.3.1 จัดทำแบบสอบถาม
   2.2.3.2 ประเมินและจัดทำรายงานสรุปผล
2.2.4  จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบ
   2.2.4.1 จัดทำบอร์ดเกี่ยวกับข่าวสารสารสนเทศประจำทุกเดือน
   2.2.4.2 ส่งข้อมูลหนังสือและวารสารใหม่เพื่อแนะนำผ่านเว็บไซต์
2.2.5  จัดทำและรวบรวมข้อมูลกิจกรรมของงานหอสมุดและสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์
2.2.6  ติดต่อและประสานงานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการการรู้สารสนเทศ
   2.2.6.1 อบรมการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลและเว็บ OPAC